ศาสนาขงจื้อ
1.
ประวัติความเป็นมา
ศาสนาขงจื้อ(Confucianism) เป็นศาสนาหนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดในผืนแผ่นดินใหญ่จีน
เป็นศาสนาในสายมองโกล ตั้งชื่อตามชื่อของศาสดา เพราะศาสดาชื่อว่า ขงจื๊อ เดิมทีเดียวตั้งแต่สมัยขงจื๊อยังมีชีวิตอยู่มิได้ถือว่าคำสอนต่างๆของขงจื๊อเป็นศาสนา
แต่เมื่อขงจื๊อสิ้นชีวิตแล้ว ศิษยานุศิษย์และผู้ศรัทธาในคำสอน ได้พากันยกย่องสรรเสริญ
ประกอบกับทั้งทางราชการก็ได้ประกาศให้มีการบูชาขงจื๊อ จึงได้กลายเป็นศาสนาที่มีคนยอมรับนับถือเป็นศาสนิกชนมากมาย
จนปัจจุบันมีผู้นับถือประมาณร้อยละ 90 อยู่ในผืนแผ่นดินใหญ่จีน นอกนั้นกระจัดกระจายอยู่ในญี่ปุ่น
ประเทศในเอเชียอื่นๆบ้าง หรือแม้แต่ในยุโรปและอเมริกา เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้นับถือขงจื๊อส่วนมากนับถือเต๋าและพุทธ
หรือชินโตด้วย
ศาสนาขงจื๊อมีคำสอนที่เน้นมากในเรื่องความมั่นคงของสังคม
และการปกครอง รวมทั้งประเพณีที่ดีงาม จะเห็นได้จากหลักคำสอนต่างๆทางด้านจริยศาสตร์หรือศีลธรรม
เพื่อให้คนได้ประพฤติดีปฏิบัติตาม ยังส่งผลให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข และคำสอนต่างๆอันเป็นหลักรัฐศาสตร์
เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้สำนึกในหน้าที่ของตน แล้วปฏิบัติให้เหมาะสมแก่หน้าที่นั้นๆ
เพราะสังคมจะดีได้จะต้องมีผู้นำและผู้ตามที่ดี ส่วนประเพณีที่ดีงามต่างๆ นั้นเป็นสื่อในการสร้างความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม
และยังเป็นการแสดงเอกลักษณ์และความเป็นอารยะของเผ่าพันธุ์ชนชาติ ตลอดทั้งกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอีกด้วย
2.
ศาสดาของศาสนาขงจื๊อ
ศาสนาขงจื๊อก็มีผู้ก่อกำเนิดในฐานะศาสดา นั่นก็คือ
ขงจื๊อ ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Confucius
อันเป็นภาษาละติน
อ่านว่า คอนฟูซิอุส ตรงกับคำว่า กุงฟูจื่อ ในภาษาจีนกลาง และขงฮูจื้อ ในภาษาจีนแต้จิ๋ว
คำว่า ขง เป็นชื่อสกุล คือ ตระกูลขง ส่วนคำว่า จื๊อ แปลว่า ครู อาจารย์ หรือนักปราชญ์
เมื่อรวมกันเข้าก็คงแปลได้ความว่า ตระกูลครูอาจารย์ หรือตระกูลนักปราชญ์
3.
คัมภีร์ศาสนาของขงจื๊อ
คัมภีร์ของศาสนาขงจื๊อ
คือ เกง ทั้ง 5 ได้แก่ ซี-กิง ,ซู-กิง , ยิ-กิง , ลิ-กิง และซุน-ชิว ส่วนซู ทั้ง 4 ได้แก่ ต้าเซี่ยว ,จุง-ยุง , ลุน ยู และเม่งจื๊อ
คำว่า “ เกง ” หรือ “ กิง ” แปลว่า เล่ม
วรรณคดีชั้นสูง ส่วนคำว่า “ ซู ” แปลว่า หนังสือ หรือ ตำรา เป็นคัมภีร์ที่จารึกด้วยภาษาจีน
ขงจื๊อเป็นคนแต่งขึ้น หลานและศิษย์และนักปราชญ์หลายคน เช่น เม่งจื๊อ เป็นผู้รวบรวม
4.
หลักคำสอนสำคัญบางประการของศาสนาขงจื๊อ
4.1.หัวใจของนักปกครอง
หัวใจอันเป็นหลักรัฐศาสตร์สำหรับผู้ปกครองมี
5 ประการ คือ
1) เหยิน (ความเมตตากรุณา) มุ่งทำงานเพื่อความผาสุก ความกินดีอยู่ดีของประชาชน
โดยถือว่าความกินดีอยู่ดีเป็นยอดปรารถนาของนักปกครอง
2) ยิ (ความถูกต้อง) คือ ไม่ทำสิ่งที่ท่านไม่ต้องการผู้อื่น
3) ลิ (ความเหมาะสม) ประพฤติต่อคนอื่นด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีงามเสมอ
4) ซิ (ปัญญา) คือ ใช้ปัญญา ความเข้าใจ เป็นดวงประทีปในการทำงาน อย่าใช้อารมณ์
ให้ใช้เหตุผลนั่นเอง
5) ซุน (ความเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้) กล่าวคือ มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อทุกคน
เพราะขงจื๊อถือว่าถ้าปราศจากความไว้วางใจเสียแล้ว โลกนี้จะตั้งอยู่ไม่ได้เลย
4.2.สายสัมพันธ์ทั้ง 5
1) สายสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
2) สายสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดา
3) สายสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา
4) สายสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง
5) สายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
4.3. หลักรัฐศาสตร์บางประการ
เช่น
§ ประชาชนเป็นส่วนสำคัญที่สุดของรัฐสรรค์ย่อมเห็นตรงกับประชาชนเห็น
สวรรค์ฟังเหมือนประชาชนฟัง เพราะเสียงประชาชนเท่ากับเสียงสวรรค์ ผู้ปกครองต้องเอาชนะใจประชาชนให้ได้
จึงจะคุมอาณาจักรไว้ได้ หากไม่เช่นนั้นแล้วอาณาจักรก็หลุดลอย
§ ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่รัฐบาลใดๆควรได้รับ
ไม่ใช่มาจากเก็บภาษีอากร อันเป็นความเดือดร้อนของประชาชน แต่ต้องมาจากการที่ประชาชนมีความประพฤติดี
และมีความเชื่อว่ารัฐบาลปกครองด้วยดี
§ ผู้ขบถหรือทรยศโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
เป็นผู้ทำตัวให้อยู่ระดับต่ำกว่าสังคม แต่ผู้ปกครองที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรมชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้ต่ำยิ่งกว่านั้น
§ วิธีจะมีรัฐบาลที่ดี
ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ปกครองจริง เสนาบดีจะต้องทำหน้าที่เสนาบดีจริงๆ พ่อต้องทำหน้าที่พ่อจริงๆ
ลูกต้องทำหน้าที่ลูกจริงๆ
5.
พิธีกรรมของศาสนาขงจื๊อ
5.1.การบูชาขงจื๊อ ที่หลุมฝังศพ
จะมีคนโดยเฉพาะชาวศาสนิกขงจื๊อไปทำพิธีเซ่นไหว้บูชาเป็นประจำ
5.2.การบูชาฟ้าดินและพระจันทร์พระอาทิตย์
ในปีหนึ่งๆจะมีรัฐพิธีบูชา 4 ครั้ง เป็นการบูชาฟ้าครั้งหนึ่ง บูชาดินครั้งหนึ่ง บูชาพระอาทิตย์ครั้งหนึ่ง
และบูชาพระจันทร์ครั้งหนึ่ง โดยกระทำใน 4 ฤดู และ ณ สถานที่ 4 ทิศของกรุงปักกิ่ง การบูชาธรรมชาติทั้ง 4 นี้จะกระทำในกาลเวลาที่ต่างกันและสถานที่ต่างกัน
5.3.พิธีเคารพบูชา เทียน
และวิญญาณบรรพบุรุษ
6.
นิกายของศาสนาขงจื๊อ
ในสมัยราชวงศ์ซุง ได้มีศาสนิกชนของขงจื๊อพวกใหม่เกิดขึ้น
พวกนี้ยอมรับเอาความคิดเรื่องหยิน-หยาง รวมทั้งการเซ่นไหว้ตามประเพณีโบราณเข้ามาไว้ในหลักการของตนด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อมีพวกใหม่ที่ผนวกความเชื่อพิธีกรรมเช่นว่านี้เข้าไป ส่วนพวกนับถือแบบเดิมหรือแบบเก่าก็ต้องมีอยู่
ก็อาจจะมีความลางเลือนแห่งความเป็นนิกายอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ชัดเจนจนถึงขนาดจะกล่าวว่าเป็นนิกาย
7.
สัญลักษณ์ของศาสนาขงจื๊อ
7.1.สัญลักษณ์ของศาสนาขงจื๊อโดยตรงได้แก่
รูปขงจื๊อ อาจจะเป็นรูปหล่อ รูปปั้น หรือแม้แต่รูปเขียน รูปวาดก็ได้
7.2.สัญลักษณ์อีกอย่างคือ
หยิน-หยาง เป็นภาพวงกลมแบ่งเป็นสองส่วนเท่ากันด้วยเส้นเว้า อันแสดงถึงธรรมชาติของโลก
และของมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นคู่ๆเช่นเดียวกับสัญลักษณ์ของศาสนาเต๋า
8.
บทบาทของศาสนาขงจื๊อต่อสังคม
8.1.ศาสนาขงจื๊อเป็นศาสนาแห่งศีลธรรม จริยธรรม จะช่วยแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี
8.2.ศาสนาขงจื๊อเป็นศาสนาแห่งรัฐศาสตร์ ช่วยให้การเมืองการปกครองกันในสังคมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและบรรลุเป้าหมาย
8.3.หลัก ซู จะช่วยให้สังคมมีความเห็นอกเห็นใจกัน เข้าใจกันได้เป็นอย่างดี ทำให้สังคมมีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกัน
8.4.สายสัมพันธ์ทั้ง 5 ช่วยสังคมให้รู้จักหน้าที่ของตนที่จะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น
โดยไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกัน
8.5.การรักษาประเพณีอันดีงามเอาไว้ ช่วยให้สังคมมีเอกลักษณ์และมีความเป็นอารยะ
เสริมความสามัคคี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม
ศาสนาเต๋า
1.
ประวัติความเป็นมา
เต๋าที่กลายมาเป็นศาสนา เนื่องจากในสมัยราชวงศ์ฮั่น
(ราว ค.ศ. 337-763) มีนักพรตรูปหนึ่งชื่อ เตียเต๋าเล้ง ได้ประกาศตนว่าสำเร็จทิพยภาวะสามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้
จึงสถาปนาศาสนาเต๋าขึ้น ณ สำนักภูเขาเหาะเม่งซัว ในมณฑลเสฉวน โดยยกเล่าจื๊อเป็นศาสดา
และใช้คัมภีร์เต๋าเตกเกง ซึ่งเป็นผลงานของเล่าจื๊อ เป็นคัมภีร์ของศาสนาเต๋า ส่วนเตียเต๋าเล้งก็ได้แต่งคัมภีร์สอนศาสนาเต๋าอีกหลายเล่มในทางฤทธิ์เดช
เวทมนตร์ต่างๆ ตลอดถึงพิธีกรรมขลังๆ เช่นมีการปรุงยาอายุวัฒนะ กินแล้วเป็นอมตะ หรือเวทมนตร์สำหรับเหาะเหินเดินอากาศได้
เป็นต้น เพราะฉะนั้น ศาสนาเต๋าจึงมีลักษณะ 2 อย่าง คือ แบบปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ก็เป็นธรรมชาตินิยม
เรียกว่า “ เต๋าเจีย ” แต่ถ้าเป็นอย่างคำสอนของเตียเต๋าเล้ง และสังฆราชถัดๆ
มาก็เป็นแบบไสยศาสตร์หรือรหัสนิยม (Mysticism) อย่างเช่น จางเต้าหลิง
หรือจางหลิง ผู้ได้รับสถาปนาเป็นสังฆราชองค์แรกของศาสนาเต๋า ในราวปี ค.ศ. 577 ก็มีดาบศักดิ์สิทธิ์
เชื่อกันว่าดาบของท่านสามารถฆ่าพวกปีศาจแม้อยู่ไกลถึง 1,000 ไมล์ได้ เป็นต้น ศาสนาเต๋าที่มีลักษณะอย่างนี้เรียกกันว่า
“ เต๋าเจียว ”
ศาสนาเต๋าหลังจากเป็นศาสนาแล้ว ก็เจริญบ้างเสื่อมบ้าง
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ทางบ้านเมือง
คือ สมัยใดที่พระเจ้าจักรพรรดิเลื่อมใส ศาสนาเต๋าก็รุ่งเรือง แต่ถ้าตรงกันข้ามก็ตกต่ำ
และกระทบกระเทือนมากที่สุดในสมัยที่คอมมิวนิสต์เข้ายึดครองประเทศจีน
ศาสนาเต๋าเคยเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน มีคัมภีร์ทางศาสนา
มีนักบวชที่เรียกว่าเต้าสื่อ หรือเต้ายิ้น มีศาสนสถานและพิธีกรรมเป็นของตนเอง และต่อมาราว
ค.ศ. 966 จักรพรรดิจีนทรงแต่งตั้งสังฆราชและผู้สืบตำแหน่งแทน มีฐานะเป็นเทียนจื๊อ หรืออาจารย์สวรรค์
ครั้นราว ค.ศ. 1559 จางเทียนจื๊อได้รับพระราชทานอาณาเขตกว้างขวางในเมืองเกียงสี
ถ้ำกวางขาว บนภูเขามังกร-เสือ ซึ่งเชื่อกันว่า จางเต้าหลิงได้พบยาอายุวัฒนะและสิ้นชีพเมื่ออายุ
123 ปี อยู่ในบริเวณนี้ จึงถือกันว่าสถานที่นี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเต๋า
2.
ประวัติศาสดา
ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นศาสดาแห่งศาสนาเต๋า
คือ เล่าจื๊อ เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดคัมภีร์เต้าเตกเกง และมีผลงาน คือ
การออกเผยแผ่คำสอนแก้ไขปัญหาสังคม ตลอดจนมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีผู้นับถือ และเอาเป็นตัวอย่างในการดำรงชีวิต
3.
คัมภีร์ในศาสนา
คัมภีร์ของศาสนาเต๋า
คือ คัมภีร์ เต้า เตก เกง (Tao-Teh-Ching) คำว่า “ เต้า ” หรือ
“ เต๋า ” แปลว่า ทาง “ เตก ” แปลว่า บุญ ความดี หรือคุณธรรม “ เกง ” แปลว่า สูตร หรือวรรณคดีชั้นสูง รวมกันแล้วอาจแปลได้ความว่า
คัมภีร์แห่งเต๋าและคุณความดี ตามประวัติกล่าวว่า เล่าจื๊อเขียนขึ้นหลังจากได้ลาออกจากตำแหน่งบรรณารักษ์แห่งหอสมุดหลวง
และได้มอบให้นายด่านที่พรมแดนระหว่างประเทศจีนกับธิเบต อักษรจารึกเป็นภาษาจีน จัดเป็นหัวข้อได้
81 ข้อ เป็นถ้อยคำ 5,500 คำ และต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ
เช่น ละติน อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
หลักธรรมในคัมภีร์เต้าเตกเกง แสดงถึงเต๋ามีลักษณะเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่ทำให้
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นเคลื่อนไหว และควบคุมสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นให้เป็นไปตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังบรรจุหลักธรรมที่สอนให้คนมีคุณธรรม ไม่ควรทะเยอทะยาน ไม่โอ้อวด ไม่แข่งดีแย่งความเป็นใหญ่
ให้มีความสันโดษ เป็นต้น
4.
หลักคำสอนที่สำคัญ
ตัวอย่างหลักคำสอนของเต๋า
มีดังนี้
4.1 สมบัติอันเป็นรัตนะ
(แก้ว 3 ประการ)
สิ่งที่ท่านเล่าจื๊อสอนการบำเพ็ญให้เกิดขึ้นกับทุกๆ
คน เพื่อความอยู่ดีของสังคม ก็คือ รัตนะ 3 ประการ ดังที่เล่าจื๊อได้กล่าวไว้ว่า
"ชาวโลกทั้งปวงกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้าหาได้เป็นดังคำกล่าวของคนทั้งหลาย
แต่ข้าพเจ้ามีสมบัติอันเป็นแก้ว 3 ประการ อยู่ในตัวข้าพเจ้า ที่คนทั้งหลายควรดูแลและรักษากันไว้ให้ดี
คือ
1)
ความเมตตากรุณา
2)
ความกระเหม็ดกระแหม่
3)
ความอ่อนน้อมถ่อมตน
4.2 ชีวิตจะดีได้ต้องกลมกลืนกับธรรมชาติ
เล่าจื๊อสอนให้คนเราดำเนินชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด
คนจะทำดีและทำชั่วไม่ต้องมีกฎหมายบังคับ แต่ปล่อยให้ธรรมชาติให้คุณและลงโทษเอง ให้เอาธรรมะเข้าสู้อธรรม
เอาความสัตย์เข้าสู้อสัตย์ เอาความดีเข้าสู่ความชั่ว
4.3 ลักษณะคนดีและชีวิตที่มีสุขสูงสุด
เล่าจื๊อสอนไว้ว่า “ คนดีที่สุดมีลักษณะเหมือนน้ำ
น้ำทำประโยชน์ให้แก่ทุกสิ่ง และไม่พยายามแก่งแย่งแข่งดีกับสิ่งใดๆ เลย น้ำขังอยู่ในที่ต่ำที่สุด
ซึ่งเป็นที่ใกล้เต๋า...” (สิ่งทั้งหลายเจริญเติบโตขึ้นมาด้วยน้ำ แต่น้ำไม่พยายามจะเลื่อนตัวเองให้ไปอยู่ระดับสูง
น้ำกลับพอใจอยู่ในที่ต่ำที่ทุกสิ่งทุกอย่างพยายามหลีกเลี่ยง นี่แหละคือลักษณะหรือธรรมชาติของ
“ เต๋า ” )
ชีวิตที่เป็นไปง่ายๆ ไม่มีการแก่งแย่งแข่งเด่น
แข่งดี ปล่อยให้เป็นไปตามวิวัฒนาการของธรรมชาติไม่มีการดิ้นรนเพื่อแสวงหาตำแหน่งหน้าที่
ให้เกิดอำนาจแก่ตน ทำประโยชน์ให้ ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนคือ
ชีวิตที่มีสุขสูงสุด ตามทรรศนะของเล่าจื๊อ
5.
พิธีกรรมที่สำคัญ
5.1
พิธีบริโภคอาหารเจ
1) ผู้ที่ถือเคร่งครัดอาจปฏิญาณตนที่จะบริโภคอาหารเจเป็นประจำตลอดชีพ
2) ผู้ที่ค่อนข้างเคร่งครัดจะเว้นอาหารเนื้อสัตว์ในวัน
1 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ ของเดือนทางจันทรคติของจีน
3) คนสามัญธรรมดาทั่วไป
จะบริโภคอาหารเจปีละ 1 ครั้ง คือ ตั้งแต่วัน 1 ค่ำ เดือน 9 ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน
และในการกินเจตามเทศกาลนี้ ผู้กินเจต้องล้างท้องก่อนถึงกำหนด 3 วัน และบางคนอาจกินเจปิดท้ายอีก
1-3 วัน
5.2 พิธีปราบผีปีศาจ เช่น ถ้าเดินป่าก็ต้องร้องเพลงหรือผิวปากให้เป็นเสียงเพลง
ผีเจ้าป่าไม่ชอบเสียงเพลง เมื่อได้ยินเสียงเพลงก็จะหนีให้ห่างไกล เป็นต้น
5.3 พิธีกรรมไล่ผีร้าย ศาสนิกชนเต๋าเชื่อว่า
มีภูตผีปีศาจร้ายมากมายคอยหลอกหลอนทำร้ายผู้คน ทำให้คนถูกหลอกเจ็บป่วยได้ จึงเกิดกรรมวิธีไล่ผีร้ายขึ้นมา
5.4 พิธีส่งวิญญาณผู้ตาย คนจีนให้ความสำคัญต่อบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก
ดังนั้นเมื่อมีญาติตายจะต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อช่วยให้วิญญาณคนตายไปสู่สุคติ อยู่อย่างเป็นสุข
ไม่ถูกผีปีศาจร้ายรบกวน
5.5 พิธีกราบไหว้บูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ ชาวจีนไม่เฉพาะศาสนิกชนเต๋า เชื่อว่าถ้าลูกหลานมีความกตัญญูกราบไหว้วิญญาณบรรพบุรุษแล้ว
วิญญาณเหล่านั้นจะต้องดูแลคุ้มครองลูกๆ หลานๆ ผู้ยังมีชีวิตอยู่ให้มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
6.
นิกายในศาสนา
ศาสนาเต๋ามีอยู่หลายนิกาย มีนิกายใหญ่อยู่
2 นิกาย คือ นิกายเช็ง-อิ และนิกายชวน-เชน
1)
นิกายเช็ง-อิ เป็นนิกายฝ่ายใต้ นิกายนี้มุ่งไปในทางอิทธิฤทธิ์ของอาจารย์สวรรค์
จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ นิกายเทียนจื๊อ ” เชื่อกันว่า จางเต๋าหลิงเป็นอาจารย์สวรรค์คนแรก
มีดาบศักดิ์สิทธิ์สามารถฆ่าปีศาจ แม้อยู่ไกลถึง 1,000 ไมล์ได้ นิกายนี้เชื่อเรื่องโชคลางอภินิหารและคาถาอาคม
จึงมีคาถาอาคมมากมาย
2)
ส่วนนิกายชวน-เชน เป็นนิกายฝ่ายเหนือ เป็นนิกายที่มุ่งดำเนินตามคำสอนเต๋า
จึงมีปฏิปทานดำเนินชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ รักสงบ เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ศาสนิกจำนวนไม่น้อยจะสละบ้านออกไปอยู่วัด
รับประทานอาหารมังสวิรัติ ทั้งจะอดอาหารในบางโอกาส ส่วนนักพรตจะแต่งงานไม่ได้ ดื่มน้ำเมาไม่ได้
นิกายนี้มีความ โน้มเอียงที่จะรวมทั้ง 3 ศาสนา คือศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื้อ
และศาสนาพุทธเข้าเป็นอันเดียวกัน
7.
สัญลักษณ์ของศาสนา
สัญลักษณ์โดยตรงของศาสนาเต๋าก็คือ รูปเล่าจื๊อขี่ควาย
อันหมายถึง การเดินทางไปยังที่ต่างๆ ของเล่าจื้อมักจะใช้ควายเป็นพาหนะ สัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งก็คือรูปหยางและหยิน
มีลักษณะเป็นวงกลมแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่ากันด้วยเส้นเว้น แสดงถึงธรรมชาติคู่ของโลก
อันหมายถึง พลัง (ชี่) อันเป็นพลังแห่งสติปัญญาความสามารถ เป็นต้น
8.
ฐานะของศาสนาในปัจจุบัน
ปัจจุบันศาสนาเต๋ายังมีผู้นับถืออยู่ มีนักบวชชายหญิง
มีศาลเจ้า มีสมาคมในหมู่ชาวจีน มีโรงเจสำหรับคนบริโภคอาหารมังสวิรัติ แต่การนับถือศาสนาเต๋าได้เสื่อมลงเพราะ
ผิดไปจากหลักการเดิมในคัมภีร์เต้าเตกเกง
ปัจจุบันสถานการณ์ของศาสนาบนแผ่นดินใหญ่ค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ
เพราะหลังจากเมาเซตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์เสียชีวิต ในปี พ.ศ. 2520 รัฐบาลจีนได้หันไปติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้น เปิดการค้าเสรีเพิ่มมากขึ้น จึงได้ผ่อนคลายการกดขี่ศาสนาลง
ให้พลเมืองมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามากขึ้น
ปัจจุบันการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ กำลังล่มสลายในหลายประเทศ
แม้ในประเทศจีนเองอิทธิพลของการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ก็ลดลงตามลำดับ ทำให้พลเมืองมีเสรีภาพมากขึ้นในการนับถือศาสนา
ผู้ที่นับถือศาสนาเต๋าอยู่แล้วก็กล้าที่จะแสดงตัว ทั้งนี้เป็นความจริงที่ว่า ความเชื่อของคนไม่อาจล้มล้างด้วยกำลังได้
การเปลี่ยนความเชื่ออย่างหนึ่งจะต้องใช้ความเชื่ออีกอย่างหนึ่งซึ่งดีกว่ามาทดแทนเท่านั้น
มิใช้ด้วยกำลัง
ศาสนาเชน
1.
ประวัติความเป็นมา
ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่เก่าแก่ของโลกและในอินเดีย
เกิดก่อนพระพุทธศาสนา ศาสนิกชนเชนเชื่อว่าโลกนี้มีมานานแล้วและจะดำรงอยู่เช่นนี้ตลอดไป
โดยแบ่งเป็นยุคในแต่ละยุคจะมี 2 รอบคือ รอบแห่งความเจริญและรอบแห่งความเสื่อม รอบแห่งความเจริญเรียกว่า
“ อุตสรปินี ” หมายความว่าทุกอย่างเริ่มจากความไม่ดีแล้วพัฒนาไปสู่ความเจริญ
เช่น อายุของคนและสัตว์จะเพิ่มขึ้น ร่างกายสูงใหญ่ขึ้น รวมถึงคุณธรรมความดีจะปรากฏเด่น
ส่วนรอบแห่งความเสื่อมเรียกว่า “ อวสรปินี ” หมายความว่าทุกอย่างจะเริ่มจากความเจริญแล้วไปสู่ความเสื่อม
2.
ศาสดาและสาวกของศาสนาเชน
ศาสนาเชนมีพระศาสดาด้วยกัน 24 พระองค์
แต่สำหรับศาสนิกชนเชนเรียกพระศาสดาของตนเองว่า “ พระติรถังกร ” แปลว่า ผู้กระทำซึ่งท่า(น้ำ)เพื่อพาคนข้ามฟากจากมนุษยภูมิไปสู่นิรวาณ(ภาษาปรากฤต)หรือนิพพานในศาสนาพุทธ
พระติรถังกรทั้ง 24 พระองค์
3.
นิกายของศาสนาเชน
ศาสนาเชนมีนิกายใหญ่อยู่ 2 นิกาย คือ นิกายทิคัมพร
และนิกายเศวตัมพร การแตกแยกเป็น 2 นิกายนั้นเกิดจากความแตกต่างกันที่ความเชื่อในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะต่างกัน
เช่น
1) นิกายทิคัมพร นักบวชจะต้องสละทรัพย์สินทั้งหมด
แม้แต่ผ้าห่มก็ต้องสละ หากยังนุ่งห่มอยู่ก็แสดงว่ายังมีกิเลส ดังนั้นนิกายทิคัมพรจึงนุ่งลงห่มฟ้า
(ชีเปลือย) มีผู้นับถือมากในทางภาคใต้ของอินเดียและนิกายนี้มีเฉพาะเพศชายเท่านั้น
2) นิกายเศวตัมพร ถือว่า
การนุ่งห่มผ้าขาวเป็นเพียงการป้องกันหนาวร้อนและปกปิดร่างกายไม่ให้อุจาดตาเท่านั้น
ไม่ใช่เรื่องกิเลส ดังนั้นนิกายเศวตัมพรจึงนุ่งห่มขาว เจริญเติบโตทางภาคเหนือของอินเดีย
ต่อมาในปีพ.ศ. 2016 ได้เกิดนิกายที่ 3
เรียกว่า “ สถานัควาที ” เป็นนิกายที่แยกจากนิกายเศวตัมพร
4.
หลักคำสอนที่สำคัญ
หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาเชน
แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ ได้ 3
หลัก คือ
4.1 หลักธรรมขั้นพื้นฐาน
ได้แก่ หลักอนุพรต 5 (ศีล 5)
4.1.1 อหิงสา การไม่เบียดเบียน
ไม่ทำลายชีวิต อนุพรตข้อนี้ถือว่าเป็นยอดของ ศีลธรรมศาสนาเชนเลยทีเดียว
4.1.2 สัตยะ พูดความจริง ไม่พูดเท็จ
ไม่ว่าด้วยเหตุผลหรือข้ออ้างใดๆ ไม่ได้
4.1.3 อัสเตยะ ไม่ลักขโมย รวมทั้งไม่หลบเลี่ยงภาษีอากร
ไม่ใช้หรือทำเงินปลอม และไม่โกงเครื่องชั่งตวง
4.1.4. พรหมจรยะ อย่างต่ำคือการไม่ประพฤติผิดในกาม
4.1.5. อปริครหะ การไม่โลภ ไม่ควรมีข้าวของมากเกินจำเป็น
สำหรับอนุพรตในข้อ1 คือ อหิงสา มีรายละเอียดในการแบ่งชั้นของสัตว์ออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1) กลุ่มที่มีประสาทหรืออินทรีย์
5 ได้แก่ ประสาททั้ง 5 และพวกเทวดา สัตว์นรก มนุษย์ และสัตว์อื่นๆ บางชนิด เช่น
ลิง วัว ควาย ช้าง ม้า นกแก้ว นกพิราบ และงู ถือว่าพวกเหล่านี้มีพุทธิปัญญาอยู่ด้วย
2) กลุ่มที่มีประสาทหรืออินทรีย์
4 พวกนี้จะไม่มีประสาทหู กลุ่มนี้จะรวมเอาพวกแมลงขนาดใหญ่ไว้แทบทั้งหมด
เช่น แมลงวัน ตัวต่อและผีเสื้อ
3) กลุ่มที่มีประสาทหรืออินทรีย์
3 พวกนี้จะไม่มีประสาทตาและประสาทหู ได้แก่ พวกแมลงเล็กๆ เช่น มด หมัด แมลงหรือสัตว์เล็กๆ
4) กลุ่มที่มีประสาทหรืออินทรีย์
2 คือ มีแต่ประสาทสำหรับลิ้มรสกับประสาทสัมผัสเท่านั้น ได้แก่ พวกหนอน ทาก
สัตว์น้ำ จำพวกที่มีเปลือก เช่น หอย ปู กุ้ง เป็นต้น
5) กลุ่มที่มีประสาทหรืออินทรีย์เดียว คือ มีเฉพาะประสาทสำหรับสัมผัสเท่านั้น
ได้แก่ พวกพืช ผัก ดิน และสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากดิน น้ำ ลม
4.2 หลักปรัชญา หลักปรัชญาในศาสนาเชน
1) ชญาณ แบ่งออกเป็น
5 ประการ คือ
1. มติชญาณ ความรู้ทางประสาทสัมผัส
2. ศรุติชญาณ ความรู้เกิดจากการฟัง
3. อวธิชญาณ
ความรู้เหตุที่ปรากฏในอดีต
4. มนปรยายชญาณ ชญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่น
5. เกวลชญาณ
ชญาณอันสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการบรรลุตั้งแต่ข้อ 1-5
2) ชีวะและอชีวะ
1. ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ
หรือสิ่งมีชีวิต หรืออาตมัน
2. อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ
หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ วัตถุ
4.3 หลักโมกษะ คือการหลุดพ้น
หรือความเป็นอิสระของวิญญาณ
ข้อปฏิบัติที่บรรลุโมกษะในศาสนาเชน
เรียกว่า ไตรรัตน์ หรือติรัตนะŽ1 หมายถึง แก้ว
3 ประการ ได้แก่
ไตรรัตน์หรือติรัตนะ
ธรรมเป็นเครื่องให้หลุดพ้นจากความทุกข์ดังกล่าว เพื่อเข้าถึงไกวัลเรียกว่า ไตรรัตน์หรือติรัตนะŽ
หมายถึง แก้ว 3
ประการ คือ
1. สัมยัคทรรศนะ : ความเห็นชอบ
ความเห็นถูกและมีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่าศาสตราจารย์ทั้งหลายผู้เป็นบรรพบุรุษของเชนนั้นแม้เดิมท่านเป็นปุถุชน
แต่อาศัยการที่ท่านมีความเพียรแรงกล้ายิ่งกว่าสามัญบุคคล ท่านจึงได้หลุดพ้นเป็นผู้ชนะ
ท่านได้ใช้ชีวิตอันบริสุทธิ์เพื่ออบรมสั่งสอนอำนวยความเจริญแก่มนุษยชาติซึ่งอยู่ในความทุกข์ด้วยหลักธรรม
2. สัมยัคชญาณ : ความรู้ชอบ ความรู้หลักธรรมที่ศาสดาสั่งสอนไว้แต่เดิม
3. สัมยัคจริต : ความประพฤติชอบ
ความประพฤติชอบ ได้แก่ ให้รู้หลักธรรม 2 ประการ
ดังต่อไปนี้
1) ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน เรียกว่า อนุพรตŽ
มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียน ตลอดจนการไม่ทำลายชีวิต
2. สัตยะ การไม่พูดเท็จ
3. อัสเตยะ การไม่ลักขโมย
4. พรหมจริยะ การประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึง ไม่ประพฤติผิด ในกาม ไม่อยู่ร่วมกับโสเภณี และไม่ดื่มสุราเมรัย
5. อปริครหะ การไม่ละโมบ
ไม่อยากได้สิ่งใดๆ คือไม่เพิ่มเติมทรัพย์ ในทางทุจริต
2) ธรรมสำหรับนักพรต เรียกว่า มหาพรตŽ
มี 5 ประการเหมือนกับอนุพรตของผู้ครองเรือน
แต่ให้เพิ่มการปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น
นอกจากพรตหรือศีลดังกล่าวมาแล้ว ความประพฤติชอบยังหมายถึงหลักเมตตากรุณา
ซึ่งมี 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. มีความกรุณาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
2. ยินดีในความได้ดีของผู้อื่น
3. มีความเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น รวมทั้งช่วยให้เขาพ้นจาก
ความทุกข์ร้อน
4. มีความกรุณาต่อผู้กระทำความผิด
5.
พิธีกรรม
5.1
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ งานพิธีกรรมรำลึกถึงองค์ศาสดาในศาสนาเชนทุกองค์ งานพิธีบูชา ทิวาลี
(งานพิธีกรรมเคารพแสงสว่าง) ผู้นับถือศาสนาเชนทั่วอินเดียทำพิธีฉลองวันประสูติของมหวีระ เป็นต้น
6.
สัญลักษณ์ของศาสนา
7.
ประเทศที่มีศาสนิกชนนับถือศาสนานี้
สาธารณรัฐอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล
ปัจจุบันสาวกศาสนาเชนกระจัดกระจายกันอยู่ในเกือบทุกรัฐของอินเดีย แต่ส่วนใหญ่จะมีอยู่มากในบริเวณภาคตะวันตกของอินเดีย
ศาสนาซิกข์
1.
ประวัติความเป็นมา
ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของนานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า
“ คุรมัต ”
ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว
คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง
10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์
สาหิพ" ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย
คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสาปันถ
2.
ประวัติศาสดาในศาสนาซิกส์
ศาสดาหรือคุรุ แห่งศาสนาสิกข์มี 10 ท่าน ต่อจากนั้นศาสดาองค์ที่ 10 ได้ประกาศให้ถือพระคัมภีร์เป็นศาสดาแทน
และไม่มีการแต่งตั้งศาสดาต่อไปอีก (ยกเว้นนิกายนามธารีถือว่ายังมีศาสดาต่อไปได้อีกจนบัดนี้
รวม 16 องค์แล้ว)
3.
นิกายของศาสนาซิกส์
ในศาสนาซิกส์แบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่มีนิกายที่สำคัญ
ๆ 2 นิกาย คือ
3.1.นิกายนานักปันณิ แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามธรรมของท่านคุรุนานัก
(ศาสดาองค์แรก) ผู้นับถือนิกายนี้จะไม่เข้าปาหุล หรือ ล้างบาป
3.2.นิกายนิลิมเล แปลว่า นักพรตผู้ปราศจากมลทิน
บางแห่งเรียกนิกายนี้ว่า “นิกายขาลสา” หรือ “นิกายสิงห์” ผู้นับถือนิกายนี้จะดำเนินตามคำสอนของท่านคุรุโควินทร์สิงห์
(ศาสดาองค์ที่ 10) โดยเฉพาะในเรื่องปาหุล หรือล้างชำละล้างบาปให้ตนเป็นผู้บริสุทธิ์
(ขาลสา)
3.3นิกายอุทาสี หมายความว่า ผู้วางเฉยต่อโลก
3.4 นิกายอกาลี คือ ผู้บูชาพระผู้เป็นเจ้านิรันดร
3.5 นิกายสุธเร คือ นักพรตผู้บริสุทธิ์
3.6 นิกายทิวเนสาธุ หมายถึง นักบุญผู้เมา
(ในพระเจ้า)
3.7 นิกายริมเลสาธุ หมายถึง นักบุญผู้ไม่มีมลทิน
3.8 นิกายนามธารี แปลว่า ผู้ทรงไว้
หรือผู้เทิดทูลพระนามของพระเจ้า หรือผู้มั่นอยู่ในนามของพระเจ้า ผู้นับถือนิกายนี้จะแต่งตัวขาวล้วน
ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มของมึนเมา ไม่กินเนื้อสัตว์
4.
คัมภีร์ศาสนาซิกข์
พระศาสดาองค์ที่ห้า พระศาสดาคุรุอารยันเทพ
ได้ทรงรวบรวมพระคัมภีร์ของพระศาสดาองค์ก่อนๆทั้งสี่พระองค์ รวมทั้งของพระองค์เอง และนักบุญนักบวชต่างๆ
ที่มีแนวคิดปรัชญาและความสัตย์รู้แจ้งเห็นจริง ในปี พ.ศ.2147 ซึ่งมีพระนามว่า อาดิครันถ์ซาฮิบ
เป็นพระคัมภีร์พระองค์เดียวในสากลโลกที่ได้มีการเรียบเรียงโดยพระศาสดา (ผู้ก่อตั้งศาสนา)
ในช่วงสมัยพระชนม์มายุของพระองค์เอง แบ่งออกเป็น 2 เล่ม ดังนี้
อาทิครันถ์ แปลว่า คัมภีร์แรก
คุรุอรชุน เป็นผู้รวมขึ้นใน ค.ศ. 1604 หรือ พ.ศ. 2147
ทสมครันถ์ แปลว่า คัมภีร์ของศาสดาองค์ที่
10 เป็นชุมนุมบทนิพนธ์ของศาสดาองค์ที่ 10 คือ คุรุโควินทสิงห์
รวบรวมขึ้นในสมัยหลังจากอาทิครันถ์ ประมาณ 100 ปี
5.
พิธีกรรม
5.1 กฎวินัยของพวกซิกข์
(เรฮาต มาร์ยาดา) กำหนดกิจวัตรประจำวันไว้ให้ผู้นับถือปฏิบัติให้ตื่นแต่เช้าตรู (ตีสามถึงหกโมงเช้า)
เพื่ออ่านคัมภีร์และทำ “นามชาปณะ” (การทำสมาธิถึงพระนามของพระเจ้า)
5.2 เทศกาลของชาวซิกข์ เทศกาลที่เป็นวันสำคัญแห่งชีวิตของบรรดาคุรุและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวซิกข์
6.
หลักคำสอนของศาสนาซิกส์
หลักคำสอนของศาสนาซิกข์
จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้
มีอยู่ 5 ประการ คือ
1. กรรม คือ การกระทำ
2. ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง
3. มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม
4. พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว
5. สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า
ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกายและทางวาจา เป็นการให้ทาน
2. วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรม
3. วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า
1. กรรม คือ การกระทำ
2. ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง
3. มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม
4. พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว
5. สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า
ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกายและทางวาจา เป็นการให้ทาน
2. วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรม
3. วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า
7.
ประเทศที่มีศาสนิกชนศาสนานี้
สาธารณรัฐอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล
ชาวซิกข์ในอินเดียและต่างประเทศ
·
ศาสนาชินโต
1.
ประวัติความเป็นมา
1.1
เกิดเมื่อประมาณ 117 ก่อนพุทธศักราช
1.2
คำว่า “ ชินโต ” มาจากภาษาจีนคำว่า เชนเต๋า คำว่า
“ เชน ” หรือชิน แปลว่า เทพเจ้า ส่วนคำว่า “ เต๋า ” แปลว่า ทาง เมื่อรวมกันแปลว่า ทางแห่งเทพเจ้าหรือการบูชาเทพเจ้าหรือคำสอนของเทพเจ้า
1.3
ภาษาญี่ปุ่นมีขื่อเรียกศาสนานี้ว่า ” กามิโนะมิจิ
”Ž
1.4
ศาสนาชินโตเป็นศาสนาพหุเทวนิยม นับถือเทพเจ้ามากมาย
1.5
ศาสนาชินโตอาจแบ่งเป็น 5 สมัย ดังนี้
สมัยที่ 1 ระยะเวลาประมาณ 1,200 ปี เป็นสมัยแห่งศาสนาชินโตบริสุทธิ์แท้
สมัยนี้เริ่มตั้งแต่พระเจ้าจิมมู เทนโน ซึ่งเป็นมิกาโด หรือจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นเรื่อยมา
จนถึงศาสนาพุทธเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
สมัยที่ 2 ระยะเวลาประมาณ 250 ปี เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและศาสนาขงจื๊อเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
ในคัมภีร์นิฮองงิได้กล่าวยกย่องศาสนาพุทธไว้ประมาณ 50 แห่ง เช่น ในปี
พ.ศ. 1188 พระเจ้าจักรพรรดิโกโตกุ ทรงยกย่องศาสนาพุทธและทรงดูหมิ่นทางแห่งเทพเจ้า
และอีกตอนหนึ่ง กล่าวว่าในปี พ.ศ. 1214 มกุฎราชกุมารโชโตกุไทชิได้ทรงสละโลกออกผนวช
เป็นต้น แต่ ถึงอย่างไรสมัยนี้ศาสนาชินโตก็ยังมีอิทธิพลมากกว่าศาสนาอื่น
สมัยที่ 3 ระยะประมาณ 900 ปี เป็นสมัยที่ศาสนาชินโตผสมกลมกลืนกับศาสนาอื่น
ทำให้ศาสนาชินโตลดความสำคัญลงมาจน จนกระทั่งระหว่าง พ.ศ. 2008 ถึง พ.ศ. 2230 ไม่มีการประกอบพิธีโอโฮนิเฮ
หรือพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบศาสนาชินโต ซึ่งถือกันว่าเป็นพิธีกรรมสำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมของศาสนาชินโต
ตลอด 8 รัชกาล
สมัยที่ 4 ระยะเวลาประมาณ 168 ปี เป็นสมัยที่มีการฟื้นฟูศาสนาชินโตเป็นการใหญ่ มีการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของศาสนาชินโต
ความสำคัญของพระเจ้าจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายจากพระอาทิตย์ ความสำคัญของชาวญี่ปุ่นที่สืบสายมาจากเทพเจ้า
และความสำคัญของประเทศญี่ปุ่น
สมัยที่ 5 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2411 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
เป็นสมัยที่ศาสนาชินโตได้รับการฟื้นฟูต่อจากสมัยที่ 4 โดยจักรพรรดิเมจิ (พ.ศ. 2411-2455) ได้ทรงสั่งชำระศาสนาชินโตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก
โดยให้แยกศาสนาชินโตออกจากศาสนาพุทธและศาสนาขงจื้อ ศาลเจ้าต่างๆ ก็ให้มีเฉพาะพิธีกรรมศาสนาชินโตเท่านั้น
ต่อมา พ.ศ. 2425 ได้ทรงแยกศาสนาชินโตออกเป็น
2 แบบ คือ ชินโตของรัฐกับชินโตของราษฎร์ ทั้งทรงส่งเสริมให้ชาวญี่ปุ่นเป็นชาตินิยม
2.
ประวัติศาสดา
ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่เกิดสืบเนื่องมาจากขนบประเพณีในการบูชาบรรพบุรุษ
และบูชาเทพเจ้าดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อแบ่งศาสนาชินโต สามารถออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1)
ชินโตที่เป็นของรัฐ (State Shinto) หรือชินโตศาลเทพเจ้า (Shrine Shinto)
2)
ชินโตที่เป็นนิกาย (Sectarian Shinto) มีบุคคลที่อ้างตัวว่าได้เห็นพระเจ้าพูดแทนพระเจ้า
เข้าลักษณะศาสดาพยากรณ์ ในที่นี้จะกล่าวเพียง 2 คน คนแรกเป็นสตรี
ซึ่งเป็นผู้ตั้งศาสนาเทนริเกียว ในคนที่สองเป็นชายชื่อ กอนโก ไดชิน เป็นผู้ตั้งศาสนากอนโกโย
3.
คัมภีร์ในศาสนา
คัมภีร์ศาสนาชินโตที่สำคัญมีอยู่ 2 คัมภีร์ ดังนี้
1)
คัมภีร์โกชิกิ
คัมภีร์นี้มีรากฐานอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณี กล่าวถึง นิยาย ตำนาน ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชสำนักของพระจักรพรรดิ
คัมภีร์ศาสนาชินโต มีลักษณะเป็นเทพนิยายผสมประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อห้าม
การปฏิบัติทางไสยศาสตร์ และการปฏิบัติต่อเทพเจ้า
2)
คัมภีร์นิฮองงิ หรือนิฮอนโชกิ แต่ถ้าต้องการกล่าวอย่างพิสดาร
ยังมีคัมภีร์อื่นอีกหลายคัมภีร์ ดังต่อไปนี้
2.1
คัมภีร์โกโคชูอิ
2.2
คัมภีร์มันโยซู
2.3
คัมภีร์ฟูโดกิ
2.4
คัมภีร์ไตโฮเรียว
2.5
คัมภีร์เยนงิชิกิ
4.
หลักคำสอนที่สำคัญ
ศาสนาชินโตสอนให้สักการะเคารพบรรพบุรุษ
กตัญญูกตเวทีต่อผู้วายชนม์ บูชาปฏิบัติต่อผู้สูงอายุกว่า จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ
ครู และอาจารย์ คือ เทพบิดร องค์พระ-จักรพรรดิมีสิทธิ์ทุกอย่างที่บิดามารดามีต่อบุตร
วิญญาณเป็นของไม่ตาย การตายเป็นการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่ชั่วประเดี๋ยวเดียว เมื่อผู้ที่เคารพถูกดูหมิ่นให้แก้แค้นให้
ไม่ควรอยู่ ร่วมฟ้ากับบุคคลที่ดูหมิ่นผู้ที่ตนสักการะ เมื่อแก้แค้นไม่ได้ให้ทำฮาราคีรีหรือคว้านท้องเสียดีกว่า
ความกล้าหาญและไม่กลัวตายคือเสบียงในสงคราม ส่วนได้เสียของพระจักรพรรดิและ ประเทศชาติคือส่วนที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ
สิ่งเหล่านี้ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่สุด
·
คำสอนสำคัญบางประการของศาสนาชินโตมีดังนี้
1. เริ่มด้วยการบูชาความงามของบุปผชาติ ลงท้ายด้วยการฆ่าตัวตาย
2. ความซื่อสัตย์ ความเคารพ และความภักดีต่อผู้ใหญ่ เป็นคุณธรรมอันสูงสุดเหนือคุณธรรมทั้งปวง
3. ความภักดีต่อพระจักรพรรดิและเจ้านายของตน เป็นชีวิตอันมีเกียรติสูงส่ง
4. ความดีงามที่เราต้องการ คือ การสืบสายกันมาแห่งบรรพบุรุษด้วยความภักดี
ความเมตตาปรานีและความสามัคคีกัน
5. เด็กและคนหนุ่มต้องนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ในครอบครัว หญิงสาวต้องนอบน้อม คนแก่ และหญิงต้องเคารพชาย
·
หลักปฏิบัติเพื่อความดีสูงสุด
หลักปฏิบัติเพื่อความดีสูงสุดในศาสนาชินโต
คือ การปฏิบัติจริยธรรมทางใจ มี 4 ประการดังต่อไปนี้
1. ให้มีความคิดแจ่มใส (อากากิ โคโกโระ)
2. ให้มีความคิดบริสุทธิ์สะอาด (คิโยกิ โคโกโระ)
3. ให้มีความคิดถูกต้อง (ทาคาชิกิ โคโกโระ)
4. ให้มีความคิดเที่ยงตรง (นาโอกิ โคโกโระ)
5.
พิธีกรรมที่สำคัญ
5.1
พิธีบูชาในศาสนา
5.2
พิธีบูชาธรรมชาติ
5.3
พิธีบูชาปูชนียบุคคล
1) การบูชาวีรชน เรื่องความรักชาติ
ชาตินิยมเทิดทูนชาติ ดู
2) การบูชาองค์จักรพรรดิ
ชาวญี่ปุ่นถือว่าองค์จักรพรรดิ หรือองค์มิกาโด หรือ เทนโน (Mika-do, Tenno) เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากดวงอาทิตย์ตลอดมาโดยไม่ขาดสาย
3) การบูชาบรรพบุรุษ
5.4 พิธีเกี่ยวกับเด็กเกิดใหม่
5.5 พิธีเนื่องในวันนักขัตฤกษ์
5.6 พิธีโอโฮฮาราซิ
(The Great Purification) เป็นพิธีชำระครั้งยิ่งใหญ่
มีคำอธิบายของนักปราชญ์ชื่ออัสตัน (Aston) ว่าโดยพระมหากรุณาธิคุณขององค์จักรพรรดิผู้ได้รับมอบหมายอำนาจมาจากเทพเจ้าอะมะเตระสุ
โอมิ กามิ ให้ประกอบพิธีนี้ด้วยการประพรม (การชำระล้าง) ด้วยน้ำบริสุทธิ์เป็นเบื้องต้น
และเซ่นสรวงสังเวย อันเป็นไปเพื่อการทดแทน (บาป) บรรดามุขมนตรีและพลเมืองของพระองค์ผู้กระทำพิธีนี้ต้องทำความบริสุทธิ์ให้เกิดแก่ตนเองเพื่อปลดบาปออกไปให้พ้นจากคน
6.
นิกายในศาสนา
นิกายของศาสนาชินโตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
6.1 ก๊กกะชินโต ได้แก่ ชินโตแห่งรัฐ กระทรวงมหาดไทยให้ความสนับสนุนและได้วางข้อบังคับให้นักบวชปฏิบัติกิจเฉพาะทางราชการเท่านั้น
และห้ามทำพิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น
6.2 เกียวหะชินโต ได้แก่ ชินโตฝ่ายประชาชน กระทรวงศึกษาธิการให้ความสนับสนุนและควบคุม เกียวหะชินโตไม่มีกิจพิธีเกี่ยวข้องกับทางราชการ
แยกออกมาตามพระบรมราชโองการในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ
7.
สัญลักษณ์ของศาสนา
1. โทริ ได้แก่ ประตูอันมีเสา
2 เสา มีไม้ 2 อันวางอยู่ข้างบน
ซึ่งมีประจำอยู่ที่ศาลเจ้าเกือบทุกแห่ง (ศาลเจ้าเล็กๆ อาจไม่มีโทริ) เป็นเครื่องหมายการเข้าสู่บริเวณศาลเจ้าของศาสนาชินโต
2. กระจก อันมีรูปลายดอกไม้
8.
ฐานะของศาสนาในปัจจุบัน
ศาสนาชินโตของรัฐถูกยุบเลิกไปแล้ว ตั้งแต่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่
2 ทางราชการ ไม่บังคับให้คนญี่ปุ่นต้องเคารพบูชาเทพเจ้า และนับถือพระเจ้าจักรพรรดิดังเทพเจ้าอีกต่อไป
จึงเป็นเรื่องส่วนตัวที่ใครจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ดังนั้นศาสนาชินโตในปัจจุบันจึงอาจแบ่งได้
เป็น 5 ลักษณะ คือ
1)
ชินโตแห่งราชสำนัก (Imperial Shinto) เป็นเพียงพิธีกรรมสำหรับราชสำนักเท่านั้น
2)
ชินโตศาลเจ้า (Shrine
Shinto) เป็นพิธีกรรมสำหรับประชาชน
3)
ชินโตนิกาย (Sectarian
Shinto) มีนิกายมากมาย แต่นิกายใหญ่มีอยู่ 13 นิกาย
4)
ชินโตนิกายใหม่ (Neo-Sectarian
Shinto) เป็นชินโตแบบที่ 3 นั่นเอง เพียงแต่ได้รับรองให้เป็นศาสนาตั้งแต่
พ.ศ. 2488 เป็นต้นมาหลังจากศาสนาชินโตรัฐถูกยุบแล้ว
5)
ชินโตชาวบ้าน (Popular
Shinto) เป็นเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์และพิธีกรรมที่ ชาวบ้านนิยมปฏิบัติกันมา
เพราะฉะนั้น ศาสนาชินโตในปัจจุบันจึงลดความสำคัญลงมาก
เพราะแตกแขนงออกไป จึงมีอิทธิพลต่อชาวญี่ปุ่นน้อยลง จนชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยหันไปนับถือศาสนาพุทธ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น